วันศุกร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2555

สสอ.หนองวัวซอจัดประชุมโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก



         เมื่อช่วงเช้า ของวันที่ 29 มิถุนายน 2555 นายบุญโฮม ผิวฝ้าย นักวิชาการสาธารณสุข จากสำนักงานสาธารณสุขอำเภอหนองวัวซอ เป็นประธาน เปิดการประชุมโครงการควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ที่ระบาดหนักในช่วงหน้าฝน ทำให้มียอดผู้ป่วยจำนวนมากในทุกปี โดยมีบุคลากรจากหน่วยงานต่าง ๆ เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ตัวแทน จากโรงพยาบาลหนองวัวซอ ตัวแทนจากโรงเรียนต่างๆ และตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 
           
         ประเด็นสำคัญ ในการประชุม พูดถึงมาตรการป้องกันพาหะนำโรคไข้เลือดออก  หรือยุงลาย วิธีกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ ลักษณะอาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคไข้เลือดออก และการปฏิบัติตัว ดูแลรักษาผู้ป่วย โดยมี นายแพทย์ทวีรัชต์ ศรีกุลวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองวัวซอ ได้มาให้ความรู้ด้านระบาดวิทยาแก่ผู้เข้าอบรม ซึ่ง
              




วันอาทิตย์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2555

“วัดภูผาแดง” บอกบุญร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์เจดีย์ “หลวงตามหาบัว”



บอกบุญญาติโยมร่วมพิธีวางศิลาฤกษ์ เจดีย์หลวงตามหาบัวและเททองหล่อรูปเหมือนพ่อแม่ครูอาจารย์โดย หลวงปู่ลี กุสลธโร วัดภูผาแดงอ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี
     
       วัดป่าเกษรศีลคุณธรรมเจดีย์ (วัดภูผาแดง) บ้านหนองสวรรค์ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี จะได้ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ สร้างเจดีย์หลวงตามหาบัว และเททองหล่อรูปเหมือนพ่อแม่ครูอาจารย์ 4 องค์ โดยหลวงปู่ลี กุสลธโร
     
       โดยกำหนดการพิธีวางศิลาฤกษ์เจดีย์หลวงตามหาบัว และเททองหล่อรูปเหมือนพ่อแม่ครูอาจารย์นั้นเริ่มในเวลา 06.00 น.พระสงฆ์ออกบิณฑบาตแล้วฉันภัตตาหาร เวลา 08.30 น.พิธีเททองหล่อรูปเหมือนพ่อแม่ครูอาจารย์เวลา 10.39 น.พิธีวางศิลาฤกษ์ เจดีย์หลวงตามหาบัว และเวลา 11.30 น.ถวายไทยธรรมแด่พระสงฆ์ และอนุโมทนา
     
       สำหรับรูปเหมือนที่จะทำการเททองมี 4 องค์ คือ หลวงปู่พรหม จิรปุญฺโญ วัดประสิทธิธรรม อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี หลวงปู่มหาปิ่น ชลิโต วัดอริยวงศาราม อ.บ้านโป่ง จ.อุดรธานี หลวงปู่บุญมี ปริปุณฺโณ วัดป่านาคูณ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี หลวงปู่เพียร วิริโย วัดป่าหนองกอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี
     
       ทั้งนี้ สามารถร่วมบุญสร้างเจดีย์หลวงตามหาบัว ณ วัดป่าภูผาแดง โดยหลวงปู่ลี กุสลธโร โดยสามารถบริจาคผ่านบัญชีธนาคารโดยไม่เสียค่าโอนได้ที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาอุดรธานี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 510-4-268990 ธนาคารกสิกรไทย สาขาอุดรธานี บัญชีออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 110-236788-8

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

“ปิดทองหลังพระ” พลิกฟื้นชีวิตที่หนองวัวซอ วันนี้มีความหวัง ยั่งยืน


จาก สภาพชีวิตเกษตรกรที่ส่วนใหญ่แร้นแค้น ทำการเกษตรในพื้นที่อย่างเดียวนอกจากไม่ค่อยพอกินแล้ว หลาย ๆ คนยังเป็นหนี้เป็นสิน ต้องดั้นด้นไปขายแรงงานต่างถิ่นเพื่อให้พออยู่รอด
แต่มาวันนี้สภาพชีวิตเกษตรกรที่นี่ดีขึ้นผิดหูผิดตา หลังมีการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ตามการชี้แนะของ โครงการปิดทองหลังพระ มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ร่วมกับกรมการปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วันนี้มาดูบางแง่มุมชีวิตของ ชาวบ้าน อ.หนองวัวซอจ.อุดรธานี
แม้ชีวิตจะต้องติดลบจากการทำการเกษตรบนผืนดินลูกรังที่ปลูกอะไรก็ไม่งาม แต่ บุญมาก คำสิงห์ป้องหรือ ลุงบุญมาก” (ที่วันนี้เป็นเกษตรกรต้นแบบ แห่งหนองวัวซอ) ก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหาที่เผชิญอยู่
แม้ จะต้องเป็นหนี้เมื่อทำการเกษตรขาดทุนติดต่อกันนานหลายปี เพื่อนบ้านหันไปทำงานรับจ้างเกือบหมด แต่ลุงบุญมากยังมุ่งมั่นเพาะปลูกบนผืนดินที่เป็นมรดกตกทอดจากพ่อแม่ ด้วยความหวังว่าวันหนึ่งผลผลิตจะดีขึ้น
แล้วความหวังนั้นก็เป็นจริง  เมื่อ โครงการปิดทองหลังพระนำองค์ความรู้ในการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนมาสู่แปลง เกษตรของเขา ซึ่งความขยันขันแข็ง เอาใจใส่ และความตั้งใจจริงในการทำเกษตรของลุงบุญมาก เข้าตา ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เข้าอย่างจัง
โดย ทุกครั้งที่คุณชายดิศนัดดาลงไปทำงานในพื้นที่ก็จะพบลุงบุญมากอยู่ในแปลง เกษตรตลอดเวลา ยิ่งเมื่อได้พูดคุยกัน ลุงบุญมากก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคนที่มีความคิดความอ่านเป็นของตัว เอง
ด้วย เหตุนี้ ลุงบุญมากจึงได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสองเกษตรกรที่จะเป็นเกษตรกรนำร่อง ฟาร์มสาธิตตามแนวทางโครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรคนอื่น ๆ ได้เห็น
โดยได้รับแม่หมูพันธ์ุ 1 ตัว ลูกหมูครอกแรกคลอด 11 ตัว ซึ่งจะต้องคืนให้กองทุนพันธ์ุสัตว์  ตัวเมียหย่านม 2 เดือนต้องคืนให้กองทุน 2 ตัว เพื่อส่งต่อให้เกษตรกรรายอื่นที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่อไป ส่วนลูกหมูที่เหลือ 9 ตัวก็ให้เป็นรายได้ของเกษตรกร  ซึ่งลูกหมูเลี้ยง  2 เดือนหลังจากหย่านมสามารถนำไปขายได้ตัวละ  1,300  บาท
ในปีที่ผ่านมา ลุงบุญมากเริ่มมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ จากที่ไม่ค่อยจะได้ เขาและภรรยาลงพัฒนาพื้นที่ 20 ไร่
ด้วย 3 กิจกรรมหลักคือ
1.ปรับปรุงดินให้มีธาตุอาหาร ปลูกพืชก่อนทำนาเพื่อเพิ่มปุ๋ยให้ดิน ทำนาและปลูกพืชหลังทำนา
2.ปลูกพืชเป็น 3 ระดับ คือพืชชั้นสูง ชั้นกลาง และพืชกินหัว ซึ่งทุกชั้นกินได้ขายได้
และ 3.ทำปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงหมูพันธุ์จินหัว เป็ดอี้เหลียง และปลากินพืชในบ่อ เป็นต้น ซึ่งด้วยเวลาเพียง 15  วันหลังจากทำฟาร์มตัวอย่าง ลุงบุญมากก็เริ่มมีรายได้วันละ  200-300 บาท จากการทยอยขายพืชผักที่ปลูกไว้
ผม ตื่นเต้นกับองค์ความรู้เหล่านี้มาก เป็นอะไรที่อัศจรรย์ เพราะเพียงแค่ไม่กี่วันพืชผักที่เราช่วยกันปลูกก็ออกดอกออกผลให้เก็บกิน และเหลือขายได้แล้ว กลายเป็นหยดน้ำทิพย์ เป็นกำลังใจให้เราอยากออกจากบ้านตั้งแต่เช้ามืด ทำงานอยู่ในแปลงจนมืดค่ำถึงจะกลับบ้านทุกวัน เวลาเพียง 5 เดือน ที่ดินของลุงก็อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยผลผลิต จนมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อถึงที่
ทุกวันนี้มีพืชผล เช่น ฟักทอง ผักบุ้งจีน มีหมูจินหัว ครอกหนึ่งคลอดลูกออกมา 11 ตัว สร้างรายได้ให้กว่า 23,000 บาท  ครบปีน่าจะมีรายได้อีกไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท จากข้าว 800 ถัง พืชหลังนา และหมูจินหัวอีก 2 ครอก คราวนี้ก็คงจะสามารถปลดหนี้ได้หมด ลืมตาอ้าปากได้เสียที
ลุงบุญมากบอกอีกว่า อนาคตไม่ได้หวังว่าจะร่ำรวย ขอแค่หมดหนี้สิน พอมีกินมีใช้ก็พอแล้ว ความ สุขและความภาคภูมิใจของเขาในวันนี้ คือการเป็นวิทยากรของโครงการปิดทองหลังพระ เผยแพร่ความรู้ที่เขาได้รับและลงมือปฏิบัติจริงจนได้ผลมาแล้ว ให้กับเกษตรกรคนอื่น ๆ ให้ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน
สำหรับเกษตรกรคนอื่น ที่พบฟ้าใหม่ได้เพราะโครงการปิดทองหลังพระ รวมถึง สมบูรณ์ ไสลาชาวบ้านบ้านโคกล่าม ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ เขาเป็นเกษตรกรซึ่งไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง ตลอด 15 ปี
ก่อน หน้านี้เขาตระเวนรับจ้างฉีดยาฆ่าแมลง จนป่วยเพราะพิษเคมี ต้องเดินทางไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในตัวจังหวัดอุดรธานีบ่อยครั้ง แต่ปัจจุบันเขาได้เลิกอาชีพรับจ้าง และหันมาใช้ที่ดินบริเวณบ้านเพาะเห็ดฟาง และเลี้ยงหมู
ก่อนหน้านี้มีหนี้สิน 3 แสนบาท เป็นหนี้นอกระบบดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาทต่อเดือน 3 หมื่นบาท ส่วนที่เหลือเป็นหนี้ที่ ธ.ก.ส. ให้กู้มาซื้อบ้านและที่ดิน หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ก็สามารถจ่ายหนี้ได้แล้วเกือบ 1 แสนบาท เชื่อว่าถ้าทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่เกิน 3 ปีก็หมดหนี้สมบูรณ์ว่าอย่างนี้
        ขณะที่ อดุลย์ เจริญสุขอาสาพัฒนาหมู่บ้าน (อสพ.) โครงการปิดทองหลังพระฯ ซึ่งได้รับเลือกจาก ม.ร.ว.ดิศนัดดา ให้ไปอบรมที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านปศุสัตว์ การเกษตรแบบผสมผสาน ฟาร์มตัวอย่าง
แล้วนำองค์ความรู้ที่ผสมผสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาแนะนำและเปรียบเทียบให้ชาวบ้านเห็น ก็ร่วมสะท้อนภาพชีวิตที่หนองวัวซอว่า ผมเป็นชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง เคยไปทำงานที่ต่างประเทศ พอหมดสัญญาก็กลับมา สมัยก่อนนั้นก็ช่วยเหลือชาวบ้านมาเรื่อยเท่าที่จะพอช่วยได้
ด้วย ความที่เป็นคนชอบดูทีวี ก็รู้สึกซาบซึ้งปรัชญาของในหลวง อยู่อย่างมีคุณค่าต้องรู้จักเสียสละเพื่อคนอื่น ตอนหลังชาวบ้านมาบอกว่าคุณชายดิศนัดดาท่านเรียกให้ผมไปคุย ไปถึงคุณชายก็บอกให้เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าไปอบรม ผมก็เลยตามเลย ลองดูก็ได้ ตอนนั้นไม่คิดว่าสิ่งที่ผมไปอบรมกลับมาจะเป็นประโยชน์กับชุมชนมากขนาดนี้
อสพ.โครงการ ปิดทองหลังพระฯ บอกอีกว่า ก่อนไปอบรมคุณชายดิศนัดดาบอกว่าอย่าเพิ่งคิดว่าจะได้อะไรตอบแทน แต่ให้คิดว่าจะทำอย่างไรให้คนในชุมชนอยู่ดีกินดี ตอนนั้นก็ไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่คุณชายบอก
แต่ พอไปสัมผัสและได้เรียนรู้ ก็เข้าใจ จึงนำองค์ความรู้ที่อบรมมา ซึ่งมันยิ่งกว่าเงินทอง มาแนะนำชาวบ้าน รู้สึกภูมิใจที่ได้แบ่งปันน้ำใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้อดุลย์กล่าว
ด้าน เสวต จันทร์หอมผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 บ้านแสงอร่าม ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ บอกว่า แนวทางของโครงการปิดทองหลังพระฯ ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์ ไม่เน้นการแจกของประชาชน แต่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในการทำงาน และโครงการจะร่วมทำด้วยเมื่อชาวบ้านพร้อม
เช่น ถ้าต้องการฝายหรือคลองส่งน้ำ ชาวบ้านต้องกำจัดวัชพืช ขุดลอกตะกอนดิน และปรับพื้นที่ก่อน  หรือ ต้องการเลี้ยงหมู ชาวบ้านต้องสร้างเล้าหมูก่อน ต้องทำงานเป็นองค์รวมและมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เชื่อมโยงทุกมิติครบวงจร ตั้งแต่การผลิตต้นน้ำ การพัฒนาปัจจัยการผลิต ระดับกลางน้ำ การแปรรูป และปลายน้ำ การตลาด ที่สำคัญมีการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรมว่าชาวบ้านได้อะไร เช่น ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น มีการปลูกพืชหลังนา มีอาชีพเสริม หนี้สินลด รายได้เพิ่ม เป็นต้น
ชาว บ้านในพื้นที่ต้องพร้อมที่จะลุกขึ้นมาทำงานด้วยตนเอง ตามหลักการทรงงาน ระเบิดจากข้างใน และเชื่อมั่นศรัทธาแนวพระราชดำริ และก็เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมผู้ใหญ่เสวต ระบุ
และเหล่านี้ก็ทำให้ชาวหนองวัวซอพบกับฟ้าใหม่.
ทุกอย่างไม่มีของฟรี
โครงการปิดทองหลังพระฯ เข้ามาครั้งแรกจริง ๆ คือ 28 ม.ค. 2554 ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เดินทางลงพื้นที่มาสำรวจความต้องการของชาวบ้าน ด้วยการพบปะพูดคุย คลุกคลีและกินนอนกับชาวบ้าน พบว่าชาวบ้านกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ต้องการน้ำ และเรียกประชุมโดยบอกว่าจะเอาโครงการปิดทองหลังพระฯ มาให้
แต่ ไม่ใช่ให้เป็นข้าวของเงินทอง คุณชายบอกว่าเรามีวิธีการ มีองค์ความรู้ แต่ชาวบ้านต้องซื่อตรงกับท่าน อย่าตอแหล คุณชายบอกเลย คือต้องไม่พูดปด ทุกอย่างไม่มีของฟรี คุณชายให้คำมั่นสัญญาไว้ก่อนแล้ว
แต่ท่านก็บอกว่าถ้าเราต้องการจริง ทุกอย่างไม่มีของฟรี ต้องเอาแรงงานมาช่วยกัน ต้องเป็นการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน
จาก นั้นก็เสนอแนวทางการนำน้ำเข้าสู่พื้นที่นาโดยใช้ท่อส่งน้ำ เมื่อชาวบ้านเห็นดีด้วยก็ขอแรงมาช่วยกันทำงาน ชาวบ้านก็รู้สึกว่าเป็นเจ้าของ
นี่เป็นคำบอกเล่าของผู้ใหญ่เสวต ถึงฉากเก่าในอดีตที่สำคัญ ที่ทำให้ชาวบ้านมีฉากชีวิตใหม่ที่ดีในวันนี้.
*ขอขอบคุณ เดลินิวส์

วันจันทร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แหล่งท่องเที่ยวอำเภอหนองวัวซอ



อำเภอหนองวัวซอมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญหลายแห่งภายในเขต องค์การบริหาร

ส่วนตำบลแต่ละตำบล ดังนี้

- เขตตำบลน้ำพ่น มีสถานที่ท่องเที่ยว 3 แห่ง ดังนี้


1. ภูลาดช่อฟ้า ตั้งอยู่บนภูเขาทางทิศตะวันตก

ของตำบลน้ำพ่น เป็นลานหินขนาดใหญ่ที่สวยงามมากสามารถมองเห็นทัศนีย์ภาพด้านล่าง ซึ่งเป็นจังหวัดหนองบัวลำภู

2. น้ำตกห้วยหลี่ผี เป็นน้ำตกที่ตั้งอยู่บนเชิงเขาทางทิศตะวันตกของตำบลน้ำพ่น

3. ไร่องุ่น สีรุ่ง ตั้งอยู่ทิศตะวันตกบ้านเกษตรสมบูรณ์ ถนนสายหนองแซงสร้อย- เกษตรสมบูรณ์ ติดต่อกับเขตโนนทัน ซึ่งถือว่าเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรในพื้นที่ ประมาณ 1,000 ไร่ ในการชมไร่องุ่นจะมีม้าเป็นพาหนะ ให้ขี่ชมไร่องุ่น และทัศนีย์ภาพภายในไร่สวยงามมาก

- เขตตำบลโนนหวาย มีสถานที่ท่องเที่ยว คือ

1. ถ้ำกกดู่ ห่างจากที่ทำการ อบต.โนนหวาย ประมาณ 3 กิโลเมตร เนื้อที่ประมาณ 120 ไร่ เป็นแอ่งน้ำอยู่ระหว่างหุบเขาล้อมรอบ ระหว่างเส้นทางมีพิพิธภัณฑ์กระดูกไดโนเสาร์ และวัดกกดู่ ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์หลวงปู่คำพอง

2. น้ำตก 2 ชั้น ห่างจากที่ทำการ อบต.โนนหวาย ประมาณ 7 กิโลเมตร ช่วงฤดูฝนมีน้ำไหลหลาก ทิวทัศน์สวยงาม ระหว่างเส้นทางมีวัดผาสุการาม ซึ่งมีทิวทัศน์ที่สวยงามร่วมเย็น

- เขตตำบลกุดหมากไฟ คือ

ประมาณ 12 กิโลเมตร 1. น้ำตกหินตั้ง เป็นน้ำตกที่ไหลลงมาจากภูเขาสูงผ่านลานหินขนาดใหญ่เป็นธารน้ำไหลที่สวยงาม น้ำใสจนสามารถมองเห็นตัวปลาได้อย่างชัดเจน ทัศนีย์ภาพรอบ ๆ บริเวณ เป็นต้นไม้ ป่าไม้ ที่เขียวชอุ่ม ดอกไม้ป่าที่สวยงาม น้ำตกหินตั้งห่างจาก อบต.กุดหมากไฟ

- เขตตำบลอูบมุง คือ

1. วัดป่าช่องชาด ตั้ง อยู่บนภูเขารอยต่อระหว่างอำเภอหนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานี และ อำเภอโนนสังข์ จังหวัดหนองบัวลำภู มีธรรมชาติที่สวยงาม เมื่อขึ้นไปบนวัดมองลงมาด้านล่างจะสามารถมองเห็น เขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น ได้อย่างงดงาม

2. วัดดอยบันไดสวรรค์ ตั้งอยู่ห่างจาก อบต.อูบมุง ประมาณ 6 กิโลเมตร วัดดอยบันไดสวรรค์ เป็นที่ตั้งพิพิธภัณฑ์ ของหลวงปู่อุ่น (เป็นหลวงปู่สายเดียวกันกับหลวงตา มหาบัว ) ซึ่งเป็นที่เลื่อมใสและศรัทธาของชาวตำบลอูบมุงและชาวอำเภอหนองวัวซอทุกคน ซึ่งบริเวณวัดนั้นมีทัศนีย์ภาพที่สวยงาม ร่มรื่น สงบ ห่างจากพิพิธภัณฑ์ของหลวงปู่อุ่นขึ้นไปบนเขา ก็จะเห็นเจดีย์ วัดดอยบันไดสวรรค์ ที่สวยงาม



- เขตตำบลหนองบัวบาน มีปูชนียสถาน , ปูชนียวัตถุมากมาย เช่น วัดป่านิโครธาราม (วัดหลวงปูอ่อน) วัดป่าราษฎรสงเคราะห์(วัดป่าหนองแซง) วัดขันธเสมาราม วัดพิชิตมงคล วัดบ้านสามขาสันติสุข วัดถ้ำเกีย ในที่นี้จะกล่าวถึงวัดป่านิโครธาราม

วัดป่านิโครธาราม

วัดป่านิโค รธาราม ตั้งอยู่ที่ บ้านหนองบัวบาน หมู่ที่ 9 หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ ได้สร้างขึ้น และมรณภาพที่วัดนี้ เมื่อ 28 พฤษภาคม 2524 วัดป่านิโครธาราม เป็นวัดที่ประชาชน เลื่อมใสศรัทธา เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดอุดรธานี มากว่า 53 ปี แล้ว

ชีวประวัติหลวงปู่อ่อน ญาณสิริ

ภูมิลำเนา

- หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เกิดเมื่อ วันอังคาร ที่ 3 มิถุนายน ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีขาล พ.ศ. 2445 ณ บ้านดอนเงิน ต.แชแล อ.หนองวัวซอ จ. อุดรธานี โยมพ่อชื่อ เมืองกลาง โยมแม่ชื่อ บุญมา กาญวิบูลย์ ภูมิลำเนาเดิมท่านทั้งสองอยู่จังหวัดร้อยเอ็ด เชื้อสายท่านเจ้าเมืองร้อยเอ็ด

ที่มาของชื่อ ‘ อ่อน ’

  - เนื่องจาก หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ เกิดวันอังคาร ที่ 3 มิถุนายน ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 7 ปีขาล เป็นวันคล้ายกับ วัน เดือน ปีเกิด ของพระองค์คุลีมาร โยมพ่อจึงตั้งชื่อหลวงปู่ว่า ‘ อ่อน ’ เพื่อเป็นการข่มไว้

บรรพชา

- อายุ 16 ปี ท่านได้บรรพชาป็นสามเณรธรรมยุต

อยู่กับหลวงพ่อนันท์ (ลูกศิษย์หลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น)

ที่วัดเกาะเกษ ต.ตูมใต้ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี

 อุปสมบท

- หลวงปู่อ่อน อายุครบ 20 ปี ได้อุปสมบทเป็นพระมหานิกาย และได้อยู่จำพรรษาแรกที่บ้านดอนเงินนั่นเอง เมื่ออกพรรษาแล้วท่านได้ธุดงค์แสวงหาครูอาจารย์ต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งพบหลวงปู่ใหญ่

พบหลวงปู่ใหญ่

- พ.ศ. 2466 หลวงปู่อ่อนได้เข้าศึกษา พระกรรมฐานกับ หลวงปู่ใหญ่เสาร์ กันตสีโล และหลวงปู่ใหญ่มั่น ภูริทัตโต ที่วัดบ้านค้อ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี และได้ถวายตัวเป็นศิษย์ แต่ท่านทั้งสองยังไม่รับ เพียงให้ปฏิบัติไปก่อน หลวงปู่มั่น ได้ให้คำบริกรรมภาวนาใหม่แก่หลวงปู่อ่อนว่า ‘ เยกุชโฌปฏิกุโล ’

- เขตตำบลหมากหญ้า

1. น้ำตกตาดโตน ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 บ้านผาสิงห์ ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอห่างจากถนนหนองวัวซอ-อูบมุง ประมาณ 9 กิโลเมตร ด้านหน้าน้ำตก จะมีโขดหินเรียงกันเป็นชั้น ๆ ตามธรรมชาติ ประมาณ 6-7 ชั้น พื้นที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้นานาชนิด ร่มรื่นสวยงาม

ช่วงหน้าฝนจะดูสวยงามมาก เพราะมีน้ำไหลผ่านตกลงไปทีละชั้น

2. ถ้ำงูทรวง ตั้งอยู่บนเขานกแซว หมู่ที่ 5 บ้านผาสิงห์ ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ ห่างจาก หมู่บ้าน ประมาณ 1 กิโลเมตร ก่อนถึงถ้ำจะมีลานหินกว้างประมาณ 10 ไร่ จะมีต้นดอกไม้นานาชนิดขึ้นตามร่องหินเป็นธรรมชาติ มีต้นไม้ใหญ่ปกคลุมร่มรื่น ปากถ้ำจะมีรูปสลักอักษรขอมโบราณ และสลักรูปงูใหญ่หลายตัว เข้าไปในถ้ำมีช่องลอดลงไปลึกประมาณ 3 เมตร กว้างประมาณ 1 เมตร บริเวณภายในถ้ำกว้าง 1 งาน จะมีน้ำใสไหล ตลอดเวลา เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงผจญภัย

- เขตตำบลหนองอ้อ

1. อ่างเก็บน้ำคำหมากคูณ

ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 4 ต.หนองอ้อ (ทางขึ้นวัดเกษรศีลคุณ ฯ) วัดภูผาแดง ระยะทางห่างจากที่ทำการ อบต. หนองอ้อ 2 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 60 ไร่ เป็นอ่างเก็บน้ำที่มีความสวยงามมากทัศนีย์ภาพรอบ ๆ บริเวณ เป็นป่าไม้เขียวชอุ่ม

2. ห้วยหลี่ผี

ตั้งอยู่ที่ หมู่ที่ 5 ต.หนองอ้อ (ทางขึ้นวัดพระพุทธบาทบัวขาว )วัดภูพระบาท ระยะทางห่างจากที่ทำการ อบต.หนองอ้อ 6 กิโลเมตร มีเนื้อที่ 75 ไร่

3. วัดสำคัญ ดังนี้
- วัดป่าเกษรศิลคุณธรรมเจดีย์ ภูผาแดง (วัดภูผาแดง ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ต.หนองอ้อ ห่างจาก อบต. ประมาณ 6 กิโลเมตร

- วัดป่าศรัทธาถวาย (วัดถ้ำเต่า ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ต.หนองอ้อ ห่างจาก อบต. ประมาณ 7 กิโลเมตร

- วัดพระพุทธบาทบัวขาว (วัดภูพระบาท ) ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ต.หนองอ้อ ห่างจาก อบต. ประมาณ 7 กิโลเมตร

ข้อมูลอำเภอหนองวัวซอ





• ประวัติ : อำเภอหนองวัวซอเดิมเป็นเขตการปกครองของอำเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี ในปี พ.ศ. 2514 ได้รับการจัดตั้งเป็น กิ่งอำเภอหนองวัวซอ โดยตั้งที่ว่าการอำเภอบริเวณบ้านโนนหวาย ตำบลโนนหวาย ห่างจากจังหวัดอุดรธานี 39 กิโลเมตร ต่อมาปี พ.ศ. 2517 กระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศยกฐานะเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอหนองวัวซอ

• ที่มาของชื่ออำเภอ : ความเป็นมาของอำเภอหนองวัวซอ มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาเป็นนิยายปรัมปราว่า สมัยก่อนมีวัวป่าฝูงใหญ่อาศัยอยู่บริเวณหนองนาเกลือ ปัจจุบันคือหนองประจักษ์ ได้บ่ายหน้าลัดเลาะหาอาหารไปทางทิศใต้โดยมีจุดหมายอยู่ที่หนองน้ำแห่ง หนึ่งที่อุดมสมบูรณ์ โดยจะมาที่หนองน้ำแห่งนี้บ่อย ๆ จนชาวบ้านได้ขนานนามหนองนี้ว่า "หนองวัวซอ" ปัจจุบันเป็นบ้านโคกก่องและบ้านหนองวัวซอ ตำบลหมากหญ้า อำเภอหนองวัวซอ ต่อมาได้ใช้ชื่อนี้เป็นหมู่บ้าน กิ่งอำเภอ และอำเภอหนองวัวซอจนถึงปัจจุบัน
• คำขวัญอำเภอหนองวัวซอ
" อุทยานหอยหิน ถิ่นไดโนเสาร์ ร่มเงาแห่งธรรมะ สวยสะไหมหมี่ขิด ดั่งเนรมิต น้ำตกหินตั้ง "

• วิสัยทัศน์อำเภอหนองวัวซอ

“ เมืองเกษตรปลอดภัย ใฝ่คุณธรรม ผู้นำพลังงานทางเลือก ”


ตั้งและอาณาเขต

ที่ตั้ง
อำเภอหนองวัวซอตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้


การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอหนองวัวซอแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 ตำบล 78 หมู่บ้าน
1.

หมากหญ้า



(Mak Ya)



10 หมู่บ้าน





5.

น้ำพ่น



(Nam Phon)



9 หมู่บ้าน

2.

หนองอ้อ



(Nong O)



11 หมู่บ้าน





6.




(Nong Bua Ban)



9 หมู่บ้าน

3.

อูบมุง



(Up Mung)



10 หมู่บ้าน





7.

โนนหวาย



(Non Wai)



10 หมู่บ้าน

4.

กุดหมากไฟ



(Kut Mak Fai)



11 หมู่บ้าน





8.

หนองวัวซอ



(Nong Wua So)



8 หมู่บ้าน

การปกครองส่วนท้องถิ่น
ท้องที่อำเภอหนองวัวซอประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 9 แห่ง โดยแบ่งออกเป็นเทศบาลตำบล 4 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 5 แห่ง ได้แก่
  • เทศบาลตำบลหนองวัวซอ ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหมากหญ้าและบางส่วนของตำบลหนองวัวซอ
  • เทศบาลตำบลหนองอ้อโนนหวาย ครอบคลุมพื้นที่บางส่วนของตำบลหนองอ้อและบางส่วนของตำบลโนนหวาย
  • เทศบาลตำบลอูบมุง ครอบคลุมพื้นที่ตำบลอูบมุงทั้งตำบล
  • เทศบาลตำบลโนนหวาย ครอบคลุมพื้นที่ตำบลโนนหวาย (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองอ้อโนนหวาย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหมากหญ้า ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหมากหญ้า (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองวัวซอ)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองอ้อ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองอ้อ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองอ้อโนนหวาย)
  • องค์การบริหารส่วนตำบลกุดหมากไฟ ครอบคลุมพื้นที่ตำบลกุดหมากไฟทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำพ่น ครอบคลุมพื้นที่ตำบลน้ำพ่นทั้งตำบล
  • องค์การบริหารส่วนตำบลหนองบัวบาน ครอบคลุมพื้นที่ตำบลหนองบัวบานทั้งตำบลและตำบลหนองวัวซอ (เฉพาะนอกเขตเทศบาลตำบลหนองวัวซอ)
เศรษฐกิจ
  • 1. อาชีพหลัก ได้แก่ 1. เกษตรกรรม 2. รับจ้างทั่วไป
  • 2. อาชีพเสริม ได้แก่ 1. งานหัตถกรรม ทอผ้าไหมขิดและผ้าหมี่ขิด 2. งานแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร มะม่วงดอง มะม่วงแช่อิ่ม
  • 3. จำนวนธนาคาร มี 1 แห่ง คือ ธนาคารเพื่องการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สาขาหนองวัวซอ โทรศัพท์ 0 4228 5863, 0 4228 5888, 0 4228 5889 โทรสาร 0 4228 5890
  • 4. ห้างสรรพสินค้า มี - แห่ง
การศึกษา
  • 1. โรงเรียนมัธยม ได้แก่ 1. โรงเรียนหนองวัวซอพิทยาคม 2. โรงเรียนแสงอร่ามพิทยาคม 3. โรงเรียนหนองยางชุมพิทยาคม
  • 2. มหาวิทยาลัย มี - แห่ง
ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
ประชากร
  • 1. จำนวนประชากรทั้งสิ้น รวม 62,762 คน
  • 2. จำนวนประชากรชาย รวม 31,412 คน
  • 3. จำนวนประชากรหญิง รวม 31,350 คน
  • 4. ความหนาแน่นของประชากร 89.28 คนต่อตารางกิโลเมตร
การคมนาคม
  • 1. ทางบก รถยนต์ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 210, ทางหลวงชนบท
  • 2. ทางน้ำ มี - แห่ง
  • 3. ทางอากาศ มี - แห่ง
การเกษตรและการอุตสาหกรรม
  • 1. ผลผลิตทางการเกษตร ที่สำคัญ ได้แก่ 1. มะม่วง 2. มันสำปะหลัง 3. อ้อย 4. ยางพารา
  • 2. ชื่อแหล่งน้ำ ที่สำคัญ ได้แก่ 1. ลำห้วยหลวง
  • 3. โรงงานอุตสาหกรรม ที่สำคัญ ได้แก่ 1. บริษัท ทะแนค ประเทศไทย จำกัด




                                                                                    ข้อมูลจาก : วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี