วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

“ปิดทองหลังพระ” พลิกฟื้นชีวิตที่หนองวัวซอ วันนี้มีความหวัง ยั่งยืน


จาก สภาพชีวิตเกษตรกรที่ส่วนใหญ่แร้นแค้น ทำการเกษตรในพื้นที่อย่างเดียวนอกจากไม่ค่อยพอกินแล้ว หลาย ๆ คนยังเป็นหนี้เป็นสิน ต้องดั้นด้นไปขายแรงงานต่างถิ่นเพื่อให้พออยู่รอด
แต่มาวันนี้สภาพชีวิตเกษตรกรที่นี่ดีขึ้นผิดหูผิดตา หลังมีการลงมือทำสิ่งต่าง ๆ ตามการชี้แนะของ โครงการปิดทองหลังพระ มูลนิธิปิดทองหลังพระฯ และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ร่วมกับกรมการปกครอง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วันนี้มาดูบางแง่มุมชีวิตของ ชาวบ้าน อ.หนองวัวซอจ.อุดรธานี
แม้ชีวิตจะต้องติดลบจากการทำการเกษตรบนผืนดินลูกรังที่ปลูกอะไรก็ไม่งาม แต่ บุญมาก คำสิงห์ป้องหรือ ลุงบุญมาก” (ที่วันนี้เป็นเกษตรกรต้นแบบ แห่งหนองวัวซอ) ก็ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคปัญหาที่เผชิญอยู่
แม้ จะต้องเป็นหนี้เมื่อทำการเกษตรขาดทุนติดต่อกันนานหลายปี เพื่อนบ้านหันไปทำงานรับจ้างเกือบหมด แต่ลุงบุญมากยังมุ่งมั่นเพาะปลูกบนผืนดินที่เป็นมรดกตกทอดจากพ่อแม่ ด้วยความหวังว่าวันหนึ่งผลผลิตจะดีขึ้น
แล้วความหวังนั้นก็เป็นจริง  เมื่อ โครงการปิดทองหลังพระนำองค์ความรู้ในการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืนมาสู่แปลง เกษตรของเขา ซึ่งความขยันขันแข็ง เอาใจใส่ และความตั้งใจจริงในการทำเกษตรของลุงบุญมาก เข้าตา ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ เข้าอย่างจัง
โดย ทุกครั้งที่คุณชายดิศนัดดาลงไปทำงานในพื้นที่ก็จะพบลุงบุญมากอยู่ในแปลง เกษตรตลอดเวลา ยิ่งเมื่อได้พูดคุยกัน ลุงบุญมากก็ยิ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเป็นคนที่มีความคิดความอ่านเป็นของตัว เอง
ด้วย เหตุนี้ ลุงบุญมากจึงได้รับเลือกให้เป็นหนึ่งในสองเกษตรกรที่จะเป็นเกษตรกรนำร่อง ฟาร์มสาธิตตามแนวทางโครงการฟาร์มตัวอย่าง ตามแนวพระราชดำริ เพื่อเป็นตัวอย่างให้เกษตรกรคนอื่น ๆ ได้เห็น
โดยได้รับแม่หมูพันธ์ุ 1 ตัว ลูกหมูครอกแรกคลอด 11 ตัว ซึ่งจะต้องคืนให้กองทุนพันธ์ุสัตว์  ตัวเมียหย่านม 2 เดือนต้องคืนให้กองทุน 2 ตัว เพื่อส่งต่อให้เกษตรกรรายอื่นที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่อไป ส่วนลูกหมูที่เหลือ 9 ตัวก็ให้เป็นรายได้ของเกษตรกร  ซึ่งลูกหมูเลี้ยง  2 เดือนหลังจากหย่านมสามารถนำไปขายได้ตัวละ  1,300  บาท
ในปีที่ผ่านมา ลุงบุญมากเริ่มมีรายได้เป็นกอบเป็นกำ จากที่ไม่ค่อยจะได้ เขาและภรรยาลงพัฒนาพื้นที่ 20 ไร่
ด้วย 3 กิจกรรมหลักคือ
1.ปรับปรุงดินให้มีธาตุอาหาร ปลูกพืชก่อนทำนาเพื่อเพิ่มปุ๋ยให้ดิน ทำนาและปลูกพืชหลังทำนา
2.ปลูกพืชเป็น 3 ระดับ คือพืชชั้นสูง ชั้นกลาง และพืชกินหัว ซึ่งทุกชั้นกินได้ขายได้
และ 3.ทำปศุสัตว์ เช่น เลี้ยงหมูพันธุ์จินหัว เป็ดอี้เหลียง และปลากินพืชในบ่อ เป็นต้น ซึ่งด้วยเวลาเพียง 15  วันหลังจากทำฟาร์มตัวอย่าง ลุงบุญมากก็เริ่มมีรายได้วันละ  200-300 บาท จากการทยอยขายพืชผักที่ปลูกไว้
ผม ตื่นเต้นกับองค์ความรู้เหล่านี้มาก เป็นอะไรที่อัศจรรย์ เพราะเพียงแค่ไม่กี่วันพืชผักที่เราช่วยกันปลูกก็ออกดอกออกผลให้เก็บกิน และเหลือขายได้แล้ว กลายเป็นหยดน้ำทิพย์ เป็นกำลังใจให้เราอยากออกจากบ้านตั้งแต่เช้ามืด ทำงานอยู่ในแปลงจนมืดค่ำถึงจะกลับบ้านทุกวัน เวลาเพียง 5 เดือน ที่ดินของลุงก็อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยผลผลิต จนมีพ่อค้าคนกลางเข้ามารับซื้อถึงที่
ทุกวันนี้มีพืชผล เช่น ฟักทอง ผักบุ้งจีน มีหมูจินหัว ครอกหนึ่งคลอดลูกออกมา 11 ตัว สร้างรายได้ให้กว่า 23,000 บาท  ครบปีน่าจะมีรายได้อีกไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท จากข้าว 800 ถัง พืชหลังนา และหมูจินหัวอีก 2 ครอก คราวนี้ก็คงจะสามารถปลดหนี้ได้หมด ลืมตาอ้าปากได้เสียที
ลุงบุญมากบอกอีกว่า อนาคตไม่ได้หวังว่าจะร่ำรวย ขอแค่หมดหนี้สิน พอมีกินมีใช้ก็พอแล้ว ความ สุขและความภาคภูมิใจของเขาในวันนี้ คือการเป็นวิทยากรของโครงการปิดทองหลังพระ เผยแพร่ความรู้ที่เขาได้รับและลงมือปฏิบัติจริงจนได้ผลมาแล้ว ให้กับเกษตรกรคนอื่น ๆ ให้ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกัน
สำหรับเกษตรกรคนอื่น ที่พบฟ้าใหม่ได้เพราะโครงการปิดทองหลังพระ รวมถึง สมบูรณ์ ไสลาชาวบ้านบ้านโคกล่าม ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ เขาเป็นเกษตรกรซึ่งไม่มีที่ดินทำกินเป็นของตัวเอง ตลอด 15 ปี
ก่อน หน้านี้เขาตระเวนรับจ้างฉีดยาฆ่าแมลง จนป่วยเพราะพิษเคมี ต้องเดินทางไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลในตัวจังหวัดอุดรธานีบ่อยครั้ง แต่ปัจจุบันเขาได้เลิกอาชีพรับจ้าง และหันมาใช้ที่ดินบริเวณบ้านเพาะเห็ดฟาง และเลี้ยงหมู
ก่อนหน้านี้มีหนี้สิน 3 แสนบาท เป็นหนี้นอกระบบดอกเบี้ยร้อยละ 3 บาทต่อเดือน 3 หมื่นบาท ส่วนที่เหลือเป็นหนี้ที่ ธ.ก.ส. ให้กู้มาซื้อบ้านและที่ดิน หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ก็สามารถจ่ายหนี้ได้แล้วเกือบ 1 แสนบาท เชื่อว่าถ้าทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ ไม่เกิน 3 ปีก็หมดหนี้สมบูรณ์ว่าอย่างนี้
        ขณะที่ อดุลย์ เจริญสุขอาสาพัฒนาหมู่บ้าน (อสพ.) โครงการปิดทองหลังพระฯ ซึ่งได้รับเลือกจาก ม.ร.ว.ดิศนัดดา ให้ไปอบรมที่ศูนย์ศึกษาพัฒนาภูพาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้านปศุสัตว์ การเกษตรแบบผสมผสาน ฟาร์มตัวอย่าง
แล้วนำองค์ความรู้ที่ผสมผสานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาแนะนำและเปรียบเทียบให้ชาวบ้านเห็น ก็ร่วมสะท้อนภาพชีวิตที่หนองวัวซอว่า ผมเป็นชาวบ้านธรรมดาคนหนึ่ง เคยไปทำงานที่ต่างประเทศ พอหมดสัญญาก็กลับมา สมัยก่อนนั้นก็ช่วยเหลือชาวบ้านมาเรื่อยเท่าที่จะพอช่วยได้
ด้วย ความที่เป็นคนชอบดูทีวี ก็รู้สึกซาบซึ้งปรัชญาของในหลวง อยู่อย่างมีคุณค่าต้องรู้จักเสียสละเพื่อคนอื่น ตอนหลังชาวบ้านมาบอกว่าคุณชายดิศนัดดาท่านเรียกให้ผมไปคุย ไปถึงคุณชายก็บอกให้เก็บเสื้อผ้าใส่กระเป๋าไปอบรม ผมก็เลยตามเลย ลองดูก็ได้ ตอนนั้นไม่คิดว่าสิ่งที่ผมไปอบรมกลับมาจะเป็นประโยชน์กับชุมชนมากขนาดนี้
อสพ.โครงการ ปิดทองหลังพระฯ บอกอีกว่า ก่อนไปอบรมคุณชายดิศนัดดาบอกว่าอย่าเพิ่งคิดว่าจะได้อะไรตอบแทน แต่ให้คิดว่าจะทำอย่างไรให้คนในชุมชนอยู่ดีกินดี ตอนนั้นก็ไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่คุณชายบอก
แต่ พอไปสัมผัสและได้เรียนรู้ ก็เข้าใจ จึงนำองค์ความรู้ที่อบรมมา ซึ่งมันยิ่งกว่าเงินทอง มาแนะนำชาวบ้าน รู้สึกภูมิใจที่ได้แบ่งปันน้ำใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ให้เขาช่วยเหลือตัวเองได้อดุลย์กล่าว
ด้าน เสวต จันทร์หอมผู้ใหญ่บ้านหมู่ 11 บ้านแสงอร่าม ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ บอกว่า แนวทางของโครงการปิดทองหลังพระฯ ไม่ใช่ระบบอุปถัมภ์ ไม่เน้นการแจกของประชาชน แต่จะถ่ายทอดองค์ความรู้ในการทำงาน และโครงการจะร่วมทำด้วยเมื่อชาวบ้านพร้อม
เช่น ถ้าต้องการฝายหรือคลองส่งน้ำ ชาวบ้านต้องกำจัดวัชพืช ขุดลอกตะกอนดิน และปรับพื้นที่ก่อน  หรือ ต้องการเลี้ยงหมู ชาวบ้านต้องสร้างเล้าหมูก่อน ต้องทำงานเป็นองค์รวมและมีแนวทางแก้ไขปัญหาที่เชื่อมโยงทุกมิติครบวงจร ตั้งแต่การผลิตต้นน้ำ การพัฒนาปัจจัยการผลิต ระดับกลางน้ำ การแปรรูป และปลายน้ำ การตลาด ที่สำคัญมีการวัดผลอย่างเป็นรูปธรรมว่าชาวบ้านได้อะไร เช่น ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น มีการปลูกพืชหลังนา มีอาชีพเสริม หนี้สินลด รายได้เพิ่ม เป็นต้น
ชาว บ้านในพื้นที่ต้องพร้อมที่จะลุกขึ้นมาทำงานด้วยตนเอง ตามหลักการทรงงาน ระเบิดจากข้างใน และเชื่อมั่นศรัทธาแนวพระราชดำริ และก็เน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วมผู้ใหญ่เสวต ระบุ
และเหล่านี้ก็ทำให้ชาวหนองวัวซอพบกับฟ้าใหม่.
ทุกอย่างไม่มีของฟรี
โครงการปิดทองหลังพระฯ เข้ามาครั้งแรกจริง ๆ คือ 28 ม.ค. 2554 ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เดินทางลงพื้นที่มาสำรวจความต้องการของชาวบ้าน ด้วยการพบปะพูดคุย คลุกคลีและกินนอนกับชาวบ้าน พบว่าชาวบ้านกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ต้องการน้ำ และเรียกประชุมโดยบอกว่าจะเอาโครงการปิดทองหลังพระฯ มาให้
แต่ ไม่ใช่ให้เป็นข้าวของเงินทอง คุณชายบอกว่าเรามีวิธีการ มีองค์ความรู้ แต่ชาวบ้านต้องซื่อตรงกับท่าน อย่าตอแหล คุณชายบอกเลย คือต้องไม่พูดปด ทุกอย่างไม่มีของฟรี คุณชายให้คำมั่นสัญญาไว้ก่อนแล้ว
แต่ท่านก็บอกว่าถ้าเราต้องการจริง ทุกอย่างไม่มีของฟรี ต้องเอาแรงงานมาช่วยกัน ต้องเป็นการมีส่วนร่วมของชาวบ้าน
จาก นั้นก็เสนอแนวทางการนำน้ำเข้าสู่พื้นที่นาโดยใช้ท่อส่งน้ำ เมื่อชาวบ้านเห็นดีด้วยก็ขอแรงมาช่วยกันทำงาน ชาวบ้านก็รู้สึกว่าเป็นเจ้าของ
นี่เป็นคำบอกเล่าของผู้ใหญ่เสวต ถึงฉากเก่าในอดีตที่สำคัญ ที่ทำให้ชาวบ้านมีฉากชีวิตใหม่ที่ดีในวันนี้.
*ขอขอบคุณ เดลินิวส์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น