วันอาทิตย์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2555

โครงการแพทย์ชนบทคืนถิ่น รพ.อุดรธานี

 
ผู้เชี่ยวชาญชื่นชมการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว โครงการแพทย์ชนบทคืนถิ่น รพ.อุดรธานี และ รพ.หนองวัวซอ จังหวัดอุดรธานีเจ๋ง

เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2554 นพ.วีระวัฒน์ พันธุ์ครุฑ รองเลขาธิการ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) พร้อมด้วย ศ.นพ.บุญชอบ พงษ์พานิชย์ ประธานโครงการแพทย์ชนบทคืนถิ่น ศ.นพ.ไพจิตร ปวะบุตร ประธานมูลนิธิเด็กโรคหัวใจฯ นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี และ คณะเยี่ยมนิเทศติดตามโครงการแพทย์ชนบทคื

นถิ่น “แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว” ณ โรงพยาบาลหนองวัวซอ จ.อุดรธานี และ โรงพยาบาลอุดรธานี หลังรับฟังบรรยายสรุประบบการจัดการเรียนการสอนรับฟังปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอ แนะต่อการดำเนินงาน จากแพทย์ผู้เรียนและครูผู้สอน ชื่นชมทำได้ผลดีเกินคาดทั้งที่เป็นพื้นที่ชนบทผู้เชี่ยวชาญชี้ภายใน 10ปี ข้างหน้าประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวอันดับหนึ่ง ในภูมิภาคเอเชียที่มีคุณภาพสูง

ศ.นพ.บุญชอบ พงษ์พานิชย์ ประธานโครงการแพทย์ชนบทคืนถิ่น เปิดเผยว่า โครงการแพทย์ชนบทคืนถิ่น “แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว” และ โครงการการเพิ่มการผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในส่วนภูมิภาค เป็นโครงการความร่วมมือ ระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข ราชวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย และสนับสนุนการดำเนินงานโดย “ทุนการกุศลสมเด็จย่า” และ “ทุนการกุศล กว.” ในการฝึกอบรมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวในขณะปฏิบัติงาน (In-service training) ส่ง เสริมให้แพทย์ที่กำลังปฏิบัติงานและอยู่ระหว่างการชดใช้ทุนในโรงพยาบาลได้ รับการฝึกอบรม เพื่อสอบวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมสาขา เวชศาสตร์ครอบครัวพร้อมทั้งสนับสนุนให้โรงพยาบาลเป็นแหล่งการเรียนการสอน ด้านเวชศาสตร์ครอบครัวให้กับแพทย์ในโครงการ

ทีมนิเทศได้เยี่ยมติดตาม นพ.อัศวเทพ อภัยโสนักศึกษาฝึกปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอุดรธานี และ นพ. ณัฐวุธ มณีขาว ฝึกปฏิบัติงานโรงพยาบาลหนองวัวซอ ซึ่งทั้งสองเป็นแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ ได้รับการฝึกอบรมโดยการปฏิบัติงานในโรงพยาบาลอุดรธานี และโรงพยาบาลหนองวัวซอ มีระยะเวลา 3 ปี โดยไม่ต้องลาศึกษาต่อ ใน การฝึกปฏิบัติจะอยู่ภายใต้การดูแลแนะนำของแพทย์พี่เลี้ยงผู้เชี่ยวชาญด้าน เวชศาสตร์ครอบครัวในสถาบันสมทบ ก็คือ รพ.อุดรธานีและรพ.หนองวัวซอ ได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการด้านเวชศาสตร์ครอบครัวโดยสถาบันหลักจากโรง พยาบาลขอนแก่น ด้านกระบวนการฝึกอบรมและการเรียนการสอน นักศึกษาแพทย์ทั้งสองได้เล่าผ่านการบรรยายว่า เป็นการเรียนการสอนที่ประยุกต์หลักการจัดการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้ผ่านบริบทของผู้เรียน และเรียนรู้ผ่านแฟ้มสะสมงาน ตลอดจนการส่งเสริมให้จัดกิจกรรมfamily medicine academic half-day ในสถาบันสมทบ มีการควบคุมมาตรฐานการฝึกอบรมโดย ราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย นพ. ณัฐวุธ มณีขาว กล่าวถึงความรู้สึกหลังได้เข้าร่วมโครงการว่า ตนเองภูมิใจและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมโครงการ ได้ศึกษาด้านเวชศาสตร์ครอบครัว สัมผัสและช่วยเหลือรักษาผู้ป่วยที่ด้อยโอกาสเข้าไม่ถึงบริการของโรงพยาบาล ให้กลับมามีสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น รู้สึกภูมิใจและมีความสุขเป็นอย่างมาก หลังจบการศึกษาพร้อมที่จะทำงานในหน่วยปฐมภูมิ

ด้านการสนับสนุนทุนการศึกษา นพ.วีระวัฒน์ พันธุ์ครุฑ รองเลขาธิการสปสช. กล่าวว่า การ สนับสนุนทุนแพทย์ที่เข้าโครงการสปสช. สนับสนุนค่าใช้จ่ายฝึกอบรมรวมทั้งการศึกษาวิจัยเพื่อตอบสนองการพัฒนาคุณภาพ บริการเป็นระยะเวลา 3 ปี ที่ร่วมโครงการ แบ่งเป็นปีที่หนึ่งไม่เกิน 120,000 บาท/คน ปีที่สอง ไม่เกิน 240,000 บาท/คน และปีที่สามไม่เกิน 360,000 บาท/คน สนับสนุนเป็นค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการให้สถาบันสมทมและสถาบันหลัก 100,000 บาทต่อแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการ 1 คน และแพทย์ที่เข้าร่วมโครงการแพทย์ชนบทคืนถิ่น ได้ทุนจาก “ทุนการกุศลสมเด็จย่า” และ “ทุนการกุศล กว.” และมูลนิธิทุนท่านท้าวมหาพรหม โรงแรมเอราวัณ สนับสนุนค่าใช้จ่ายการศึกษาดูงานในประเทศและต่างประเทศ

แพทย์ในโครงการที่จบการฝึกอบรม ปฏิบัติงานใช้ทุนตามเงื่อนไขการชดใช้ทุนเป็นเวลา 3 ปี ในโรงพยาบาลหรือศูนย์แพทย์ชุมชน สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งโครงการได้ตั้งเป้าผลิตแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวรายใหม่ ที่เป็นบุคลากรที่มีเจตคติ พฤติกรรม และจริยธรรมที่เหมาะสมต่อวิชาชีพเวชปฏิบัติครอบครัว สามารถให้บริการทางการแพทย์ในระดับปฐมภูมิในพื้นที่ชนบทที่ห่างไกลและ ทุรกันดารของประเทศ เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าปีละ 20 คน พร้อมการจัดระบบธำรงรักษา แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวให้สามารถปฏิบัติงานและคงอยู่ในระบบปฐมภูมิได้อย่าง ต่อเนื่องและยั่งยืน นพ.วีระวัฒน์ กล่าว

นพ.ปรีดา แต้อารักษ์ ผอ.สปสช.เขต 8 อุดรธานี กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังขาดแคลนแพทย์สาขานี้เป็นจำนวนมาก การที่จะได้บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถและมีทัศนคติที่สอดคล้องกับปรัญชา แนวคิดการบริการในปฐมภูมิ จึงจำเป็นต้องมีการประสานความรู้ร่วมมือกันอย่างจริงจังในการร่วมผลิต “แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัว” เพื่อให้ครอบคลุมประชาชนคนไทยอย่างทั่วถึง และเป็นการสร้างหลักประกันสุขภาพที่มีคุณภาพด้านการแพทย์การสาธารณสุขที่ ยั่งยืน เกิดความเสมอภาค ผู้ด้อยโอกาสสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพที่จำเป็นได้มากขึ้น โดยใช้องค์ความรู้เวชศาสตร์ครอบครัวเป็นหลักในการทำงาน

วันระพี สปปช. 8 ภาพ / ข่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น